Southern Spa
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อชีส นันทอมรพงศ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย บัณฑิตศึกษาและบริการวิชาการ กล่าวต่อว่า ธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพเป็นหนึ่งในกิจกรรมการท่องเที่ยวและพักผ่อนที่ผนวกกิจกรรมด้านการดูแลสุขภาพเข้าไว้ด้วยกัน เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่องคณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในตลาดธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในพื้นที่ภาคใต้โดยการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของสปาเพื่อสุขภาพในภาคใต้ภายใต้แพลตฟอร์มที่ชื่อ Spa Business Information Management System (SPA-BIM)
ซึ่งระบบดังกล่าวนี้จะช่วยรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในพื้นที่ภาคใต้ นอกจากนี้ในอนาคตผู้วิจัยคาดว่าจะพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารสารสนเทศ Spa – BIM System โดยจะรวบรวมข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ ผู้เข้าชมเว็ปไซต์ ผู้เข้าใช้แอปพลิเคชัน ข้อมูลการตอบโต้ทางโทรศัพท์ ข้อมูลการสนทนาผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อช่วยในการปรับปรุงการสื่อสารกับลูกค้า และเพิ่มมูลค่าให้ได้มากที่สุดด้วยการส่งข้อเสนอสุดพิเศษให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า และยังช่วยแก้ปัญหาที่เกิดกับลูกค้าที่เป็นการแก้ปัญหาเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงผู้วิจัยจะดำเนินการพัฒนาระบบให้สามารถช่วยสนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน และรูปแบบของผลลัพธ์อาจจะอยู่ในรูปแบบของรายงานเฉพาะกิจหรือรายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ การคาดการณ์ทางการตลาด ซึ่งสามารถดูข้อมูลได้จาก http://southernspa.info/

ดร.กาญจนา เหล่าเส็น ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับด้านการท่องเที่ยว ในฐานะผู้จัดทำโครงการ Phuket Smart Tourism ด้วยจำนวนข้อมูลด้านการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นที่สะท้อนถึงทัศนคติ ความชอบ และความสนใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่ม ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์แต่จำเป็นต้องมีการจัดเก็บและรวบรวมที่ดีสำหรับพร้อมใช้งาน และเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและชุมชน นำไปสู่การท่องเที่ยวแบบชาญฉลาดเพื่อยกระดับจังหวัดภูเก็ตในด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว
ระบบอัจฉริยะด้านการท่องเที่ยวจึงมีความสำคัญและจำเป็นทั้งการจัดเก็บ การวิเคราะห์และการนำมาใช้ประโยชน์ในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่การใช้งานที่หลากหลาย เช่น Forecasting System (ระบบการพยากรณ์) Travel Planning System (ระบบการวางแผนการเดินทาง) ในการนำวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจำเป็นต้องความรู้ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) วิทยาการข้อมูล (Data Science) รวมถึงศาสตร์ทางด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism Domain) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะสั้น เก็บข้อมูลขนาดใหญ่จากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาโครงสร้างการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลความสนใจของนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่ม โดยรวบรวมข้อความจากกระดานสนทนาออนไลน์ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตเช่น TripAdvisor และ Booking.com ในช่วง 5 ปีแรก และวิเคราะห์หาแนวโน้มของนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มและหาความสัมพันธ์ของข้อมูลความสนใจของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต